- ความรู้ทางด้านธุรกิจ
- ทักษะการทำงาน
- เนื้อหาเฉพาะเจาะจงในส่วนใดส่วนหนึ่ง จากการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือหลักสูตรระดับมหาวิทยาลัยที่ได้ศึกษาผ่านมา
- ความสามารถในสาขาวิชาด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ
- คุณสมบัติเฉพาะบุคคลที่ไม่มีเกณฑ์การวัดที่แน่นอน อาทิเช่น แรงจูงใจ ความคิดสร้างสรรค์ หรือมนุษย์สัมพันธ์
โครงสร้างของข้อสอบ
GMAT มีรูปแบบของการสอบเป็นแบบ Computer-Adaptive Test – CAT และประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ:
- Analytical Writing Assessment : เป็นการเขียน essay 2 บทความ คือ analysis of an issue และ analysis of an argument บทความละ 30 นาที ซึ่งต้องทำด้วยคอมพิวเตอร์เท่านั้น
- Quantitative Section : 75 นาที 37 คำถาม ลักษณะของข้อสอบเป็นการวัดความสามารถทางด้าน Algebra, Arithmetic และ Geometry โดยมีคำถามใน 2 รูปแบบคือ Data Sufficiency และ Problem Solving
- Verbal Section : 75 นาที 41 คำถาม เป็นการทดสอบความสามารถทางด้าน Reading, Grammar และ Analytical Reasoning ในระดับที่นักศึกษาควรจะมี ในการเข้าศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ทางด้านบริหารธุรกิจ โดยมีคำถามใน 3 รูปแบบคือ Reading Comprehension, Critical Reasoning และ Sentence Correction
ผลคะแนน GMAT
ผลสอบ GMAT จะประกอบไปด้วยตัวเลขต่างๆ หลายส่วน ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกันไป ตัวเลขที่ใช้อ้างอิงกันมากที่สุดคือผลคะแนนรวม ซึ่งจะอยู่ในช่วง 200 – 800 และเป็นตัวเลขที่ตัดสินมาจากคะแนนทั้งในส่วนของ Math และ Verbal ในการสอบ โรงเรียนทางด้านธุรกิจส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญกับคะแนน GMAT ในรูปแบบนี้มากกว่า คะแนนในส่วนของ Verbal และ Math จะได้รับการจัดคะแนนแยกจากกัน โดยมีระดับของคะแนนในช่วง 0 - 60 สำหรับแต่ละส่วน
ในส่วนของการเขียนบทความหรือ Analytical Writing Assessment (AWA) จะมีช่วงคะแนน 0 – 6 โดยในข้อสอบ จะมีบทความ 2 บทความ ซึ่งแต่ละบทความ จะได้รับการประเมินผลจาก 2 ฝ่าย (ด้วยเจ้าหน้าที่ 1 คนและด้วย คอมพิวเตอร์) นั้น ETS จะทำค่าเฉลี่ยของคะแนนทั้ง 4 ส่วน และปรับให้เป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับคะแนนในหน่วยครึ่งคะแนนมากที่สุด อย่างไรก็ดี คะแนนในส่วนของ AWA จะไม่ได้นำเข้าไปรวมกับคะแนนรวม
การให้คะแนนของการสอบ GMAT จะแตกต่างกันไปจากการสอบอื่นๆ คือจะมีการติดลบ 1 ใน 4 สำหรับข้อที่เลือกผิดทุกข้อ นอกจากนี้ ใบรายงานผลการสอบ จะบ่งบอกถึงคะแนนที่ได้มีการสอบไปแล้ว 3 ครั้งล่าสุด ภายในระยะเวลา 5 ปี
ผู้สอบสามารถยกเลิกคะแนนการสอบได้ทันที ภายหลังจากการทำข้อสอบจนเสร็จ ซึ่งเป็นเพียงโอกาสเดียวที่จะยกเลิกได้ และต้องยกเลิก ก่อนการเห็นคะแนนที่จะได้รับ นอกจากนี้ จะมีการบันทึกในเรื่องของการยกเลิกคะแนน ในรายงานผลการสอบด้วยเช่นกัน
สามารถสอบ GMAT ได้กี่ครั้ง
ผู้สอบสามารถสอบ GRE ได้เพียง 1 ครั้ง ภายในระยะเวลา 1 เดือน (ตามปฏิทิน) และไม่สามารถสอบ GMAT ได้เกินกว่า 5 ครั้ง ภายในระยะเวลา 12 เดือน (รวมถึงครั้งที่มีการยกเลิกผลคะแนนด้วย) หากสอบเกิน 5 ครั้ง ผลการสอบในครั้งที่เกินจะไม่มีการจัดส่งออกมา และอาจถูกห้ามไม่ให้สอบ GMAT ในอนาคตได้อีก
การจัดส่งผลสอบไปยังสถาบันการศึกษา
ในวันสอบ ผู้สอบสามารถเลือกให้จัดส่งผลสอบไปให้กับสถาบันการศึกษาได้ 5 แห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และเมื่อเลือกแล้ว ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรายชื่อสถาบันภายหลังได้ แต่ในกรณีที่ผู้สอบไม่ได้กำหนดสถาบันการศึกษาที่ต้องการให้จัดส่งผลสอบในที่วันสอบ หรือต้องการส่งผลสอบไปให้กับสถาบันการศึกษามากกว่า 5 แห่ง ก็สามารถทำได้ โดยต้องเสียค่าบริการ US$ 28 ต่อสถาบัน
การสมัครสอบ GMAT
ปัจจุบัน หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับสมัครการสอบ GMAT สำหรับประเทศไทยคือ Regional Registration Center (RRC) Region 6 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Thomson Prometric
P.O. Box 12964
50794 Kuala Lumpur
Malaysia
E-mail: searrc@prometric.com
Tel: 60-3-7628-3333
Fax: 60-3-7628-3366
สำหรับ สถานที่สอบ GMAT ในประเทศไทย คือที่
Institute of International Education - Southeast Asia (IIE)
6th Floor, Maneeya Center North
518/3 Ploenchit Road
Pathumwan, Bangkok 10330
ศูนย์สอบในประเทศไทย เป็นศูนย์สอบแบบ permanent ซึ่งเมื่อกำหนดสถานที่สอบได้แล้ว ผู้ที่ต้องการสอบสามารถตรวจสอบวันที่ และเวลาที่สามารถลงทะเบียนสอบได้ จาก www.gmat.org/mba/Service/GMATInfo/SelectTest.htm
สำหรับการสมัครสอบกับศูนย์สอบแบบ permanent สามารถกระทำได้ 4 วิธีคือ แบบ online ทางโทรศัพท์ ทางโทรสาร และทางไปรษณีย์
- แบบ online : ผู้สอบสามารถลงทะเบียนสอบ online ได้ ทาง website โดยต้องชำระค่าสมัครสอบด้วยบัตรเครดิตเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้สอบยังต้องสมัครเป็นสมาชิกของ mba.com ก่อน จึงจะสามารถสมัครสอบแบบ online ได้
- ทางโทรศัพท์ : การสมัครสอบทางโทรศัพท์จากประเทศไทย ผู้สมัครต้องโทรติดต่อไปที่ Regional Registration Center (RRC) หมายเลขโทรศัพท์ 60-3-7628-3333 พร้อมเตรียมข้อมูลส่วนตัว และบัตรเครดิตที่ต้องการใช้ในการชำระค่าสมัครสอบ
- ทางโทรสารและทางไปรษณีย์ : สำหรับการลงทะเบียนทางโทรสารและทางไปรษณีย์ ผู้สมัครต้องกรอก International Test Scheduling Form ( สามารถ download จาก website ได้) จากนั้น จึงจัดส่งทางโทรสารหรือไปรษณีย์ ไปยัง RRC พร้อมชำระค่าสมัครสอบ ตามที่อยู่ด้านบน จากนั้นเมื่อ RRC ดำเนินการเกี่ยวกับใบสมัครให้แล้ว ผู้สมัครจะได้รับแจ้งหมายเลขยืนยัน เวลาและวันสอบ รวมถึงสถานที่สอบทางโทรสารหรือไปรษณีย์ จาก RRC ซึ่งหากผู้สมัครไม่ได้รับแจ้งข้อมูลดังกล่าวภายใน 3 วันก่อนวันสอบวันแรกที่ได้เลือกไว้ ให้โทรติดต่อไปยัง RRC เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การชำระค่าสมัครสอบ GMAT
ค่าสมัครสอบ GMAT ในปัจจุบันเท่ากับ US$ 225 โดยสามารถชำระได้ทั้งในรูปแบบของบัตรเครดิต ( Visa, MasterCard หรือ American Express) ใบสั่งจ่ายเงิน หรือคูปอง UNESCO
ผลสอบ GMAT
ผู้สอบ จะสามารถทราบผลการสอบอย่างไม่เป็นทางการในส่วนของ Verbal และ Quantitative รวมถึงผลคะแนนรวม ได้ทันทีเมื่อสอบเสร็จ ในส่วนของรายงานผลการสอบอย่างเป็นทางการ รวมทั้งคะแนนในส่วนของ AWA จะถูกจัดส่งไปให้กับผู้สอบ และสถาบันการศึกษาที่ได้เลือกไว้ทางไปรษณีย์ ภายในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากวันสอบ
ข้อมูลเพื่อเติมเกี่ยวกับ GMAT สามารถดูได้จาก www.gmat.org หรือ www.gmac.org
หรือโทรไปที่ 02--652-0602-3 เพื่อสอบถามข้อมูลทั่วไป