ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ " gmat "

ข้อสอบ gmat

ข้อสอบ gmat
ข้อสอบ gmat

รายละเอียดของข้อสอบ GMAT

รายละเอียดของข้อสอบ GMAT
วันที่ 17 มีนาคม 2549
เรียบเรียงโดย: ดร.สิระ สุทธิคำ, สถาบัน Kendall Square
www.ToeflThailand.com

Graduate Management Admission Test หรือข้อสอบ GMAT เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถของผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจซึ่งรวมทั้ง MBA, M.S. Marketing, M.S. Finance, MIS (สำหรับสาขา MIS ของบางมหาวิทยาลัยอาจต้องใช้คะแนน GRE แทน), DBA, และ Ph.D. ด้านบริหารธุรกิจส่วนใหญ่ต้องใช้คะแนน GMAT ในการพิจารณารับนักศึกษา

ภาพรวมของข้อสอบ
เป็นการวัดความรู้ในการสื่อสารซึ่งรวมทั้งการอ่านและการเขียน, ทักษะการวิเคราะห์, และ ทักษะในการคำนวณ ที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จในการเรียนต่อทางด้านบริหารธุรกิจ
จาก website ของผู้ออกข้อสอบ
www.mba.com ระบุไว้ชัดเจนว่าข้อสอบ GMAT ไม่สามารถใช้วัดความสามารถในเรื่องต่อไปนี้

• ความรู้เฉพาะทางของธุรกิจเช่น มาตรฐานของบัญชี หรือ กฎหมายธุรกิจ
• ทักษะเฉพาะด้านของงาน (specific job skill) หรือเนื้อหาจากบทเรียนระดับปริญญาตรีด้านบัญชีและบริหาร
• คุณสมบัติอื่นของการเป็นนักธุรกิจที่ดีเช่นความมุ่งมั่น, ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

รูปแบบของข้อสอบและเวลา
ข้อสอบ GMAT ประกอบด้วยข้อสอบ 3 ส่วนคือ 1. การเขียน (Analytical Writing Assessment) 2. คณิตศาสตร์ (Quantitative) และ 3. ภาษาอังกฤษ (Verbal)

ข้อสอบการเขียน (AWA)
ข้อสอบ GMATเริ่มจากการทำข้อสอบเขียนก่อนเสมอ โดยจะมีรูปแบบของข้อสอบ 2 ลักษณะได้แก่ 1.การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น (Issue) และ 2.การเขียนเพื่อแสดงวิจารณ์บทความ (Argument) ผู้เข้าสอบจะมีเวลา 30 นาทีต่อหนึ่ง essay

ข้อสอบคณิตศาสตร์ (Quantitative)
หลังจากการพักจากข้อสอบการเขียน 10 นาที ผู้เข้าสอบจะต้องทำโจทย์เลขแบบ multiple-choice จำนวน 37 ข้อโดยมีรูปแบบของข้อสอบสองลักษณะนั้นคือ 1. Problem Solving ~24 ข้อ และ 2. Data Sufficiency ~13 ข้อ โดยมีเวลาทำข้อสอบทั้งสิ้น 75 นาที คอมพิวเตอร์จะหยุดการทำงานทันทีเมื่อเวลาหมด

ข้อสอบภาษาอังกฤษ (Verbal)
หลังจากการพักจากข้อสอบคณิตศาสตร์แล้ว ผู้เข้าสอบสามารถพักหรือทำข้อสอบภาษาอังกฤษ (Verbal) ต่อเนื่องเลยได้ โดยข้อสอบส่วนนี้จะเป็นโจทย์แบบ multiple-choice จำนวน 41 ข้อโดยมีรูปแบบของข้อสอบสามลักษณะนั้นคือ 1. การอ่าน (Reading Comprehension) ~14 ข้อ 2. การวิเคราะห์ (Critical Reasoning) ~14 ข้อและ 3. ไวยกรณ์และการเขียน (Sentence Correction) ~13 ข้อ โดยมีเวลาทำข้อสอบทั้งสิ้น 75 นาที คอมพิวเตอร์จะหยุดการทำงานทันทีเมื่อเวลาหมด

http://toefl121.blogspot.com/

http://toeic1.blogspot.com/

ตัวอย่างข้อสอบGmat

Example:

The rise in negative attitudes toward foreigners indicate that the country is becoming less tolerant, and therefore that the opportunities are ripe for extremist groups to exploit the illegal immigration problem.

(A) indicate that the country is becoming less tolerant, and therefore that
(B) indicates that the country is becoming less tolerant, and therefore
(C) indicates that the country is becoming less tolerant, and therefore that
(D) indicates that the country is being less tolerant, and therefore
(E) indicates that the country is becoming less tolerant of and therefore that

Choice (A) has two flaws. First, the subject of the sentence the rise is singular, and therefore the verb indicate should not be plural. Second, the comma indicates that the sentence is made up of two independent clauses, but the relative pronoun that immediately following therefore forms a subordinate clause.

Choice (C) corrects the number of the verb, but retains the subordinating relative pronoun that.

Choice (D) corrects the number of the verb and eliminates the subordinating relative pronoun that. However, the verb being is less descriptive than the verb becoming: As negative attitudes toward foreigners increase, the country becomes correspondingly less tolerant. Being does not capture this notion of change.

Choice (E) corrects the verb's number, and by dropping the comma makes the subordination allowable. However, it introduces the preposition of which does not have an object: less tolerant of what?

Choice (B) both corrects the verb's number and removes the subordinating relative pronoun that. The answer is (B).

Monday, March 10, 2008

GMAT - Graduate Management Admission Test

GMAT เป็นข้อสอบแบบปรนัย ( Multiple-Choice) ใช้สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครเพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ด้านธุรกิจและบริหาร การสอบ GMAT ดำเนินการโดย Educational Testing Service (ETS) ภายใต้การสนับสนุนของ Graduate Management Admission Council (GMAC) กล่าวได้ว่า GMAT มีจุดมุ่งหมายในการวัดทักษะขั้นพื้นฐานทางด้าน verbal, mathematical และ analytical ที่ได้รับการพัฒนาสะสมมาจากการศึกษาและการทำงานที่ผ่านมา โดยไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการวัด
  • ความรู้ทางด้านธุรกิจ
  • ทักษะการทำงาน
  • เนื้อหาเฉพาะเจาะจงในส่วนใดส่วนหนึ่ง จากการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือหลักสูตรระดับมหาวิทยาลัยที่ได้ศึกษาผ่านมา
  • ความสามารถในสาขาวิชาด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ
  • คุณสมบัติเฉพาะบุคคลที่ไม่มีเกณฑ์การวัดที่แน่นอน อาทิเช่น แรงจูงใจ ความคิดสร้างสรรค์ หรือมนุษย์สัมพันธ์

โครงสร้างของข้อสอบ

GMAT มีรูปแบบของการสอบเป็นแบบ Computer-Adaptive Test – CAT และประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ:

  1. Analytical Writing Assessment : เป็นการเขียน essay 2 บทความ คือ analysis of an issue และ analysis of an argument บทความละ 30 นาที ซึ่งต้องทำด้วยคอมพิวเตอร์เท่านั้น
  2. Quantitative Section : 75 นาที 37 คำถาม ลักษณะของข้อสอบเป็นการวัดความสามารถทางด้าน Algebra, Arithmetic และ Geometry โดยมีคำถามใน 2 รูปแบบคือ Data Sufficiency และ Problem Solving
  3. Verbal Section : 75 นาที 41 คำถาม เป็นการทดสอบความสามารถทางด้าน Reading, Grammar และ Analytical Reasoning ในระดับที่นักศึกษาควรจะมี ในการเข้าศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ทางด้านบริหารธุรกิจ โดยมีคำถามใน 3 รูปแบบคือ Reading Comprehension, Critical Reasoning และ Sentence Correction

ผลคะแนน GMAT

ผลสอบ GMAT จะประกอบไปด้วยตัวเลขต่างๆ หลายส่วน ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกันไป ตัวเลขที่ใช้อ้างอิงกันมากที่สุดคือผลคะแนนรวม ซึ่งจะอยู่ในช่วง 200 – 800 และเป็นตัวเลขที่ตัดสินมาจากคะแนนทั้งในส่วนของ Math และ Verbal ในการสอบ โรงเรียนทางด้านธุรกิจส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญกับคะแนน GMAT ในรูปแบบนี้มากกว่า คะแนนในส่วนของ Verbal และ Math จะได้รับการจัดคะแนนแยกจากกัน โดยมีระดับของคะแนนในช่วง 0 - 60 สำหรับแต่ละส่วน
ในส่วนของการเขียนบทความหรือ Analytical Writing Assessment (AWA) จะมีช่วงคะแนน 0 – 6 โดยในข้อสอบ จะมีบทความ 2 บทความ ซึ่งแต่ละบทความ จะได้รับการประเมินผลจาก 2 ฝ่าย (ด้วยเจ้าหน้าที่ 1 คนและด้วย คอมพิวเตอร์) นั้น ETS จะทำค่าเฉลี่ยของคะแนนทั้ง 4 ส่วน และปรับให้เป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับคะแนนในหน่วยครึ่งคะแนนมากที่สุด อย่างไรก็ดี คะแนนในส่วนของ AWA จะไม่ได้นำเข้าไปรวมกับคะแนนรวม

การให้คะแนนของการสอบ GMAT จะแตกต่างกันไปจากการสอบอื่นๆ คือจะมีการติดลบ 1 ใน 4 สำหรับข้อที่เลือกผิดทุกข้อ นอกจากนี้ ใบรายงานผลการสอบ จะบ่งบอกถึงคะแนนที่ได้มีการสอบไปแล้ว 3 ครั้งล่าสุด ภายในระยะเวลา 5 ปี
ผู้สอบสามารถยกเลิกคะแนนการสอบได้ทันที ภายหลังจากการทำข้อสอบจนเสร็จ ซึ่งเป็นเพียงโอกาสเดียวที่จะยกเลิกได้ และต้องยกเลิก ก่อนการเห็นคะแนนที่จะได้รับ นอกจากนี้ จะมีการบันทึกในเรื่องของการยกเลิกคะแนน ในรายงานผลการสอบด้วยเช่นกัน

สามารถสอบ GMAT ได้กี่ครั้ง

ผู้สอบสามารถสอบ GRE ได้เพียง 1 ครั้ง ภายในระยะเวลา 1 เดือน (ตามปฏิทิน) และไม่สามารถสอบ GMAT ได้เกินกว่า 5 ครั้ง ภายในระยะเวลา 12 เดือน (รวมถึงครั้งที่มีการยกเลิกผลคะแนนด้วย) หากสอบเกิน 5 ครั้ง ผลการสอบในครั้งที่เกินจะไม่มีการจัดส่งออกมา และอาจถูกห้ามไม่ให้สอบ GMAT ในอนาคตได้อีก

การจัดส่งผลสอบไปยังสถาบันการศึกษา

ในวันสอบ ผู้สอบสามารถเลือกให้จัดส่งผลสอบไปให้กับสถาบันการศึกษาได้ 5 แห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และเมื่อเลือกแล้ว ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรายชื่อสถาบันภายหลังได้ แต่ในกรณีที่ผู้สอบไม่ได้กำหนดสถาบันการศึกษาที่ต้องการให้จัดส่งผลสอบในที่วันสอบ หรือต้องการส่งผลสอบไปให้กับสถาบันการศึกษามากกว่า 5 แห่ง ก็สามารถทำได้ โดยต้องเสียค่าบริการ US$ 28 ต่อสถาบัน

การสมัครสอบ GMAT

ปัจจุบัน หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับสมัครการสอบ GMAT สำหรับประเทศไทยคือ Regional Registration Center (RRC) Region 6 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Thomson Prometric
P.O. Box 12964
50794 Kuala Lumpur
Malaysia
E-mail: searrc@prometric.com
Tel: 60-3-7628-3333
Fax: 60-3-7628-3366

สำหรับ สถานที่สอบ GMAT ในประเทศไทย คือที่
Institute of International Education - Southeast Asia (IIE)
6th Floor, Maneeya Center North
518/3 Ploenchit Road
Pathumwan, Bangkok 10330

ศูนย์สอบในประเทศไทย เป็นศูนย์สอบแบบ permanent ซึ่งเมื่อกำหนดสถานที่สอบได้แล้ว ผู้ที่ต้องการสอบสามารถตรวจสอบวันที่ และเวลาที่สามารถลงทะเบียนสอบได้ จาก
www.gmat.org/mba/Service/GMATInfo/SelectTest.htm

สำหรับการสมัครสอบกับศูนย์สอบแบบ permanent สามารถกระทำได้ 4 วิธีคือ แบบ online ทางโทรศัพท์ ทางโทรสาร และทางไปรษณีย์

  1. แบบ online : ผู้สอบสามารถลงทะเบียนสอบ online ได้ ทาง website โดยต้องชำระค่าสมัครสอบด้วยบัตรเครดิตเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้สอบยังต้องสมัครเป็นสมาชิกของ mba.com ก่อน จึงจะสามารถสมัครสอบแบบ online ได้
  2. ทางโทรศัพท์ : การสมัครสอบทางโทรศัพท์จากประเทศไทย ผู้สมัครต้องโทรติดต่อไปที่ Regional Registration Center (RRC) หมายเลขโทรศัพท์ 60-3-7628-3333 พร้อมเตรียมข้อมูลส่วนตัว และบัตรเครดิตที่ต้องการใช้ในการชำระค่าสมัครสอบ
  3. ทางโทรสารและทางไปรษณีย์ : สำหรับการลงทะเบียนทางโทรสารและทางไปรษณีย์ ผู้สมัครต้องกรอก International Test Scheduling Form ( สามารถ download จาก website ได้) จากนั้น จึงจัดส่งทางโทรสารหรือไปรษณีย์ ไปยัง RRC พร้อมชำระค่าสมัครสอบ ตามที่อยู่ด้านบน จากนั้นเมื่อ RRC ดำเนินการเกี่ยวกับใบสมัครให้แล้ว ผู้สมัครจะได้รับแจ้งหมายเลขยืนยัน เวลาและวันสอบ รวมถึงสถานที่สอบทางโทรสารหรือไปรษณีย์ จาก RRC ซึ่งหากผู้สมัครไม่ได้รับแจ้งข้อมูลดังกล่าวภายใน 3 วันก่อนวันสอบวันแรกที่ได้เลือกไว้ ให้โทรติดต่อไปยัง RRC เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การชำระค่าสมัครสอบ GMAT

    ค่าสมัครสอบ GMAT ในปัจจุบันเท่ากับ US$ 225 โดยสามารถชำระได้ทั้งในรูปแบบของบัตรเครดิต ( Visa, MasterCard หรือ American Express) ใบสั่งจ่ายเงิน หรือคูปอง UNESCO

    ผลสอบ GMAT

    ผู้สอบ จะสามารถทราบผลการสอบอย่างไม่เป็นทางการในส่วนของ Verbal และ Quantitative รวมถึงผลคะแนนรวม ได้ทันทีเมื่อสอบเสร็จ ในส่วนของรายงานผลการสอบอย่างเป็นทางการ รวมทั้งคะแนนในส่วนของ AWA จะถูกจัดส่งไปให้กับผู้สอบ และสถาบันการศึกษาที่ได้เลือกไว้ทางไปรษณีย์ ภายในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากวันสอบ

    ข้อมูลเพื่อเติมเกี่ยวกับ GMAT สามารถดูได้จาก
    www.gmat.org หรือ www.gmac.org
    หรือโทรไปที่ 02--652-0602-3 เพื่อสอบถามข้อมูลทั่วไป

No comments: