GMAT หรือ Graduate management Admission Test: เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความรู้ความสามารถ และคุณสมบัติของผู้ที่ต้องการ เข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารธุรกิจ จากจำนวน มหาวิทยาลัยในประเทศอเมริกาทั้งหมด ที่เปิดสอนในสาขานี้ประมาณ 1,300 แห่ง หว่า 850 แห่ง ที่ใช้คะแนน GMAT ในการพิจารณาการับนักศึกษา
ประเภทของข้อสอบ GMAT
ลักษณะของข้อสอบจะเป็นข้อสอบแบบข้อเขียน 2 เรื่อง เรื่องละ 30 นาที และเป็นข้อสอบปรนัยตอนละ 25 นาที รวม 7 ตอน ลักษณะของข้อสอบจะเป็นการวัดความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ รวมทั้งความถนัดของการเขียนในเชิงวิเคราะห์ ซึ่งเป็นความสามารถที่นักศึกษา ควรจะมีในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านการบริหาร
ภาคการคำนวณ
- การคำนวณ (Mathematic Ability)
- การใช้เหตุผล (Data Sufficiency)
- การอ่านกราฟ, แผนภูมิ และตาราง (Statistics)
ภาคที่ไม่ใช่การคำนวณ
- การประเมินข้อมูล (Data Evaluation)
- การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
- การเปรียบเทียบข้อมูล (Data Comparison)
- การทดสอบเชาว์และไหวพริบ (Aptitude Test)
คะแนน GMAT อยู่ในช่วง 200-800 ผลคะแนนของนักศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 250-700 ในส่วนการเขียนเชิงวิเคราะห์ จะมีคะแนนในช่วง 0-6 ผู้ที่ไม่ทำข้อสอบ 2 ชุด คือทั้งการเขียนบทความ และการทำข้อสอบปรนัยจะไม่ได้รับผลคะแนน การสอบ GMAT เนื่องจากถือว่าทำข้อสอบไม่สมบูรณ์
ปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอบ GMAT ในประเทศไทย เป็นการสอบกับคอมพิวเตอร์ อัตราค่าสมัครสอบปัจจุบันเท่ากับ US$ 195.00 และสามารถเลือกวันสอบได้ โดยทาง IIE จัดสอบทุกวันวันละ 1 รอบ ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตลอดช่วงระยะเวลา 3 สัปดาห์สุดท้ายของแต่ละเดือน ไม่มีการจัดสอบในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน การสอบแต่ละครั้งสามารถรับผู้สอบได้ 19 คน
นักศึกษาสามารถรับใบสมัครและสมัครสอบได้ที่ IIE นักศึกษาสามารถทราบผลการสอบในส่วนที่เป็นปรนัยทันทีหลังจากการสอบ แต่ในส่วนข้อเขียน ทาง IIE จะจัดส่งผลไปให้ภายหลัง ผู้ที่สนใจยังสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ GMAT ได้ที่ http://www.gmat.org
..ข้อมูลจาก US Study Guide