ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ " gmat "

ข้อสอบ gmat

ข้อสอบ gmat
ข้อสอบ gmat

รายละเอียดของข้อสอบ GMAT

รายละเอียดของข้อสอบ GMAT
วันที่ 17 มีนาคม 2549
เรียบเรียงโดย: ดร.สิระ สุทธิคำ, สถาบัน Kendall Square
www.ToeflThailand.com

Graduate Management Admission Test หรือข้อสอบ GMAT เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถของผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจซึ่งรวมทั้ง MBA, M.S. Marketing, M.S. Finance, MIS (สำหรับสาขา MIS ของบางมหาวิทยาลัยอาจต้องใช้คะแนน GRE แทน), DBA, และ Ph.D. ด้านบริหารธุรกิจส่วนใหญ่ต้องใช้คะแนน GMAT ในการพิจารณารับนักศึกษา

ภาพรวมของข้อสอบ
เป็นการวัดความรู้ในการสื่อสารซึ่งรวมทั้งการอ่านและการเขียน, ทักษะการวิเคราะห์, และ ทักษะในการคำนวณ ที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จในการเรียนต่อทางด้านบริหารธุรกิจ
จาก website ของผู้ออกข้อสอบ
www.mba.com ระบุไว้ชัดเจนว่าข้อสอบ GMAT ไม่สามารถใช้วัดความสามารถในเรื่องต่อไปนี้

• ความรู้เฉพาะทางของธุรกิจเช่น มาตรฐานของบัญชี หรือ กฎหมายธุรกิจ
• ทักษะเฉพาะด้านของงาน (specific job skill) หรือเนื้อหาจากบทเรียนระดับปริญญาตรีด้านบัญชีและบริหาร
• คุณสมบัติอื่นของการเป็นนักธุรกิจที่ดีเช่นความมุ่งมั่น, ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

รูปแบบของข้อสอบและเวลา
ข้อสอบ GMAT ประกอบด้วยข้อสอบ 3 ส่วนคือ 1. การเขียน (Analytical Writing Assessment) 2. คณิตศาสตร์ (Quantitative) และ 3. ภาษาอังกฤษ (Verbal)

ข้อสอบการเขียน (AWA)
ข้อสอบ GMATเริ่มจากการทำข้อสอบเขียนก่อนเสมอ โดยจะมีรูปแบบของข้อสอบ 2 ลักษณะได้แก่ 1.การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น (Issue) และ 2.การเขียนเพื่อแสดงวิจารณ์บทความ (Argument) ผู้เข้าสอบจะมีเวลา 30 นาทีต่อหนึ่ง essay

ข้อสอบคณิตศาสตร์ (Quantitative)
หลังจากการพักจากข้อสอบการเขียน 10 นาที ผู้เข้าสอบจะต้องทำโจทย์เลขแบบ multiple-choice จำนวน 37 ข้อโดยมีรูปแบบของข้อสอบสองลักษณะนั้นคือ 1. Problem Solving ~24 ข้อ และ 2. Data Sufficiency ~13 ข้อ โดยมีเวลาทำข้อสอบทั้งสิ้น 75 นาที คอมพิวเตอร์จะหยุดการทำงานทันทีเมื่อเวลาหมด

ข้อสอบภาษาอังกฤษ (Verbal)
หลังจากการพักจากข้อสอบคณิตศาสตร์แล้ว ผู้เข้าสอบสามารถพักหรือทำข้อสอบภาษาอังกฤษ (Verbal) ต่อเนื่องเลยได้ โดยข้อสอบส่วนนี้จะเป็นโจทย์แบบ multiple-choice จำนวน 41 ข้อโดยมีรูปแบบของข้อสอบสามลักษณะนั้นคือ 1. การอ่าน (Reading Comprehension) ~14 ข้อ 2. การวิเคราะห์ (Critical Reasoning) ~14 ข้อและ 3. ไวยกรณ์และการเขียน (Sentence Correction) ~13 ข้อ โดยมีเวลาทำข้อสอบทั้งสิ้น 75 นาที คอมพิวเตอร์จะหยุดการทำงานทันทีเมื่อเวลาหมด

http://toefl121.blogspot.com/

http://toeic1.blogspot.com/

ตัวอย่างข้อสอบGmat

Example:

The rise in negative attitudes toward foreigners indicate that the country is becoming less tolerant, and therefore that the opportunities are ripe for extremist groups to exploit the illegal immigration problem.

(A) indicate that the country is becoming less tolerant, and therefore that
(B) indicates that the country is becoming less tolerant, and therefore
(C) indicates that the country is becoming less tolerant, and therefore that
(D) indicates that the country is being less tolerant, and therefore
(E) indicates that the country is becoming less tolerant of and therefore that

Choice (A) has two flaws. First, the subject of the sentence the rise is singular, and therefore the verb indicate should not be plural. Second, the comma indicates that the sentence is made up of two independent clauses, but the relative pronoun that immediately following therefore forms a subordinate clause.

Choice (C) corrects the number of the verb, but retains the subordinating relative pronoun that.

Choice (D) corrects the number of the verb and eliminates the subordinating relative pronoun that. However, the verb being is less descriptive than the verb becoming: As negative attitudes toward foreigners increase, the country becomes correspondingly less tolerant. Being does not capture this notion of change.

Choice (E) corrects the verb's number, and by dropping the comma makes the subordination allowable. However, it introduces the preposition of which does not have an object: less tolerant of what?

Choice (B) both corrects the verb's number and removes the subordinating relative pronoun that. The answer is (B).

Wednesday, September 3, 2008


GMAT หรือ Graduate management Admission Test: เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความรู้ความสามารถ และคุณสมบัติของผู้ที่ต้องการ เข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารธุรกิจ จากจำนวน มหาวิทยาลัยในประเทศอเมริกาทั้งหมด ที่เปิดสอนในสาขานี้ประมาณ 1,300 แห่ง หว่า 850 แห่ง ที่ใช้คะแนน GMAT ในการพิจารณาการับนักศึกษา

ประเภทของข้อสอบ GMAT
ลักษณะของข้อสอบจะเป็นข้อสอบแบบข้อเขียน 2 เรื่อง เรื่องละ 30 นาที และเป็นข้อสอบปรนัยตอนละ 25 นาที รวม 7 ตอน ลักษณะของข้อสอบจะเป็นการวัดความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ รวมทั้งความถนัดของการเขียนในเชิงวิเคราะห์ ซึ่งเป็นความสามารถที่นักศึกษา ควรจะมีในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านการบริหาร

ภาคการคำนวณ
  1. การคำนวณ (Mathematic Ability)
  2. การใช้เหตุผล (Data Sufficiency)
  3. การอ่านกราฟ, แผนภูมิ และตาราง (Statistics)

ภาคที่ไม่ใช่การคำนวณ

  1. การประเมินข้อมูล (Data Evaluation)
  2. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
  3. การเปรียบเทียบข้อมูล (Data Comparison)
  4. การทดสอบเชาว์และไหวพริบ (Aptitude Test)
การให้คะแนนของ GMAT จะแตกต่างจากการให้คะแนน TOEFL และ GRE คือมีการติดลบ 1 ใน 4 สำหรับข้อที่เลือกผิดทุกข้อ และการรายงานผลที่แตกต่างจาก TOEFL คือ จะเป็นการรายงานคะแนนสำหรับ 3 ครั้งล่าสุด มหาวิทยาลัยบางแห่งจะพิจารณาเฉพาะผลคะแนนครั้งที่ดีที่สุด แต่บางแห่งจะพิจารณาดูจากพัฒนาการของนักศึกษา จากผลการสอบที่ได้แต่ละครั้ง

คะแนน GMAT อยู่ในช่วง 200-800 ผลคะแนนของนักศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 250-700 ในส่วนการเขียนเชิงวิเคราะห์ จะมีคะแนนในช่วง 0-6 ผู้ที่ไม่ทำข้อสอบ 2 ชุด คือทั้งการเขียนบทความ และการทำข้อสอบปรนัยจะไม่ได้รับผลคะแนน การสอบ GMAT เนื่องจากถือว่าทำข้อสอบไม่สมบูรณ์

ปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอบ GMAT ในประเทศไทย เป็นการสอบกับคอมพิวเตอร์ อัตราค่าสมัครสอบปัจจุบันเท่ากับ US$ 195.00 และสามารถเลือกวันสอบได้ โดยทาง IIE จัดสอบทุกวันวันละ 1 รอบ ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตลอดช่วงระยะเวลา 3 สัปดาห์สุดท้ายของแต่ละเดือน ไม่มีการจัดสอบในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน การสอบแต่ละครั้งสามารถรับผู้สอบได้ 19 คน

นักศึกษาสามารถรับใบสมัครและสมัครสอบได้ที่ IIE นักศึกษาสามารถทราบผลการสอบในส่วนที่เป็นปรนัยทันทีหลังจากการสอบ แต่ในส่วนข้อเขียน ทาง IIE จะจัดส่งผลไปให้ภายหลัง ผู้ที่สนใจยังสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ GMAT ได้ที่ http://www.gmat.org

..ข้อมูลจาก US Study Guide

No comments: