ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ " gmat "

ข้อสอบ gmat

ข้อสอบ gmat
ข้อสอบ gmat

รายละเอียดของข้อสอบ GMAT

รายละเอียดของข้อสอบ GMAT
วันที่ 17 มีนาคม 2549
เรียบเรียงโดย: ดร.สิระ สุทธิคำ, สถาบัน Kendall Square
www.ToeflThailand.com

Graduate Management Admission Test หรือข้อสอบ GMAT เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถของผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจซึ่งรวมทั้ง MBA, M.S. Marketing, M.S. Finance, MIS (สำหรับสาขา MIS ของบางมหาวิทยาลัยอาจต้องใช้คะแนน GRE แทน), DBA, และ Ph.D. ด้านบริหารธุรกิจส่วนใหญ่ต้องใช้คะแนน GMAT ในการพิจารณารับนักศึกษา

ภาพรวมของข้อสอบ
เป็นการวัดความรู้ในการสื่อสารซึ่งรวมทั้งการอ่านและการเขียน, ทักษะการวิเคราะห์, และ ทักษะในการคำนวณ ที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จในการเรียนต่อทางด้านบริหารธุรกิจ
จาก website ของผู้ออกข้อสอบ
www.mba.com ระบุไว้ชัดเจนว่าข้อสอบ GMAT ไม่สามารถใช้วัดความสามารถในเรื่องต่อไปนี้

• ความรู้เฉพาะทางของธุรกิจเช่น มาตรฐานของบัญชี หรือ กฎหมายธุรกิจ
• ทักษะเฉพาะด้านของงาน (specific job skill) หรือเนื้อหาจากบทเรียนระดับปริญญาตรีด้านบัญชีและบริหาร
• คุณสมบัติอื่นของการเป็นนักธุรกิจที่ดีเช่นความมุ่งมั่น, ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

รูปแบบของข้อสอบและเวลา
ข้อสอบ GMAT ประกอบด้วยข้อสอบ 3 ส่วนคือ 1. การเขียน (Analytical Writing Assessment) 2. คณิตศาสตร์ (Quantitative) และ 3. ภาษาอังกฤษ (Verbal)

ข้อสอบการเขียน (AWA)
ข้อสอบ GMATเริ่มจากการทำข้อสอบเขียนก่อนเสมอ โดยจะมีรูปแบบของข้อสอบ 2 ลักษณะได้แก่ 1.การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น (Issue) และ 2.การเขียนเพื่อแสดงวิจารณ์บทความ (Argument) ผู้เข้าสอบจะมีเวลา 30 นาทีต่อหนึ่ง essay

ข้อสอบคณิตศาสตร์ (Quantitative)
หลังจากการพักจากข้อสอบการเขียน 10 นาที ผู้เข้าสอบจะต้องทำโจทย์เลขแบบ multiple-choice จำนวน 37 ข้อโดยมีรูปแบบของข้อสอบสองลักษณะนั้นคือ 1. Problem Solving ~24 ข้อ และ 2. Data Sufficiency ~13 ข้อ โดยมีเวลาทำข้อสอบทั้งสิ้น 75 นาที คอมพิวเตอร์จะหยุดการทำงานทันทีเมื่อเวลาหมด

ข้อสอบภาษาอังกฤษ (Verbal)
หลังจากการพักจากข้อสอบคณิตศาสตร์แล้ว ผู้เข้าสอบสามารถพักหรือทำข้อสอบภาษาอังกฤษ (Verbal) ต่อเนื่องเลยได้ โดยข้อสอบส่วนนี้จะเป็นโจทย์แบบ multiple-choice จำนวน 41 ข้อโดยมีรูปแบบของข้อสอบสามลักษณะนั้นคือ 1. การอ่าน (Reading Comprehension) ~14 ข้อ 2. การวิเคราะห์ (Critical Reasoning) ~14 ข้อและ 3. ไวยกรณ์และการเขียน (Sentence Correction) ~13 ข้อ โดยมีเวลาทำข้อสอบทั้งสิ้น 75 นาที คอมพิวเตอร์จะหยุดการทำงานทันทีเมื่อเวลาหมด

http://toefl121.blogspot.com/

http://toeic1.blogspot.com/

ตัวอย่างข้อสอบGmat

Example:

The rise in negative attitudes toward foreigners indicate that the country is becoming less tolerant, and therefore that the opportunities are ripe for extremist groups to exploit the illegal immigration problem.

(A) indicate that the country is becoming less tolerant, and therefore that
(B) indicates that the country is becoming less tolerant, and therefore
(C) indicates that the country is becoming less tolerant, and therefore that
(D) indicates that the country is being less tolerant, and therefore
(E) indicates that the country is becoming less tolerant of and therefore that

Choice (A) has two flaws. First, the subject of the sentence the rise is singular, and therefore the verb indicate should not be plural. Second, the comma indicates that the sentence is made up of two independent clauses, but the relative pronoun that immediately following therefore forms a subordinate clause.

Choice (C) corrects the number of the verb, but retains the subordinating relative pronoun that.

Choice (D) corrects the number of the verb and eliminates the subordinating relative pronoun that. However, the verb being is less descriptive than the verb becoming: As negative attitudes toward foreigners increase, the country becomes correspondingly less tolerant. Being does not capture this notion of change.

Choice (E) corrects the verb's number, and by dropping the comma makes the subordination allowable. However, it introduces the preposition of which does not have an object: less tolerant of what?

Choice (B) both corrects the verb's number and removes the subordinating relative pronoun that. The answer is (B).

Wednesday, February 23, 2011

รายละเอียดของข้อสอบ SAT

รายละเอียดของข้อสอบ SAT
ตามที่ข้อสอบ SAT ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของข้อสอบตั้งแต่เดือนมีนาคม 2005 นั้นรูปแบบของข้อสอบใหม่ประกอบโดยข้อสอบ 7 ประเภทดังนี้
1 Math: Multiple Choice
- เป็นข้อสอบเลขระดับมัธยมปลายโดยมีตัวเลือกให้ 5 ข้อ
- เรียนวิชา Math ของ GMAT ได้ (GMAT ยากกว่า SAT)
2 Math: Grid-Ins
- เป็นข้อสอบเลขระดับมัธยมปลายโดยไม่มีตัวเลือกให้
- เรียนวิชา Math ของ GMAT ได้
3 Identifying Sentence Errors
- เป็นข้อสอบ Grammar เหมือน TOEFL CBT แต่มีตัวเลือก 5 ข้อ
- เรียนวิชา Error Identification ของ TOEFL ได้ (TOEFL ง่ายกว่า SAT)
4 Improving Sentences
- เป็นข้อสอบ Grammar และ Style โดยมีตัวเลือก 5 ตัวเลือก
- เรียนวิชา Sentence Correction ของ GMAT ได้ (GMAT ยากกว่า SAT)
5 Identifying Paragraph Errors
- เป็นข้อสอบ Writing โดยมีตัวเลือก 5 ตัวเลือก
- เรียนวิชา Paragraph ของ TOEFL iBT ได้
6Essay
- เป็นข้อสอบ Writing
- เรียนวิชา Writing ของ GMAT ได้
7Sentence Completion
- เป็นข้อสอบ Vocabulary และ Reading โดยผู้สอบต้องเลือกคำศัพท์เติมในช่องว่าง
- สามารถทดแทนด้วยการเรียน Vocabulary และ Reading ของ GMAT ได้
- ผู้เรียนควรท่องศัพท์เพิ่มเติม8। Reading Comprehension
- เป็นข้อสอบ Reading โดยมีตัวเลือก 5 ตัวเลือก
- เรียนวิชา Reading ของ GMAT ได้
โดยรวมแล้วข้อสอบ SAT “ใหม่” มีความใกล้เคียงกับข้อสอบ GMAT มากกว่าข้อสอบเดิมอย่างเด่นชัด (ในขณะที่ข้อสอบเดิมจะมีความใกล้เคียงกับข้อสอบ GRE ที่เน้นการท่องศัพท์แต่ในขณะที่ข้อสอบใหม่จะเน้นการวิเคราะห์) ดังนั้นผู้เตรียมตัวสอบ SAT สามารถฝึกฝนและเรียนเกี่ยวกับพื้นฐานและเทคนิคการทำข้อสอบโดยการเข้าเรียนหลักสูตร GMAT ได้ โดยรวมแล้วเนื้อหาของหลักสูตร GMAT จะยากกว่าข้อสอบ SAT ดังนั้นทางสถาบัน Kendall น่าจะแนะนำหลักสูตรดังกล่าวให้กับนักเรียนที่สามารถทำคะแนน TOEFL ได้มากกว่า 550 เท่านั้น*

***เนื่องจากนักเรียน SAT ส่วนใหญ่จะมีอายุน้อยดังนั้นจึงจำเป็นยิ่ง (กว่านักเรียน GMAT) ที่จะต้องตรวจสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษก่อนเข้าเรียนเพราะหากให้เข้าเรียนโดยคะแนน TOEFL ยังไม่ถึงเกณฑ์อาจทำให้น้องมัธยมปลายท้อแท้กับการเรียน

Q & A: QUESTION & ANSWERคำถาม: ข้อสอบเพื่อการเรียนต่อมีอะไรบ้าง? ขอความกรุณาช่วย post link กับ internet ให้ด้วยคะ ขอบพระคุณอย่างยิ่งคะอาจารย์สิระคำตอบ: ข้อสอบมีทั้งหมดกี่ชนิดผมคงบอกไม่ได้นะครับแต่เอาเป็นข้อสอบที่นักเรียนพูดถึงกันบ่อยๆ คงมีดังนี้นะคะ • TOEFL: ข้อสอบภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนต่อต่างประเทศ (USA, UK, Australia, และ New Zealand) รวมทั้ง Program Inter ของ จุฬา, ธรรมศาสตร์, มหิดล, ABAC, ศศิน, AIT, และ อื่นๆ รวมทั้งใช้ในการสอบทุน หากต้องการเตรียมตัวให้ดีที่สุดแนะนำให้เตรียมตัวสอบข้อสอบนี้เป็นอันดับแรก http://www.ets.org/portal/site/ets/menuitem.435c0b5cc7bd0ae7015d9510c3921509/?vgnextoid=69c0197a484f4010VgnVCM10000022f95190RCRD• GMAT: ข้อสอบคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษชั้นสูงซึ่งรวมทั้ง การอ่าน, ทักษะการวิเคราะห์(logic) และทักษะการเขียนเพื่อใช้ในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางด้านบริหารธุรกิจ http://www.mba.com/mba/TaketheGMAT• LSAT: ข้อสอบเพื่อศึกษาต่อด้านกฎหมาย https://os.lsac.org/Release/logon/logon.aspx • Usmle: ข้อสอบเพื่อศึกษาต่อด้านการแพทย์ http://www.usmle.org/ • GRE: ข้อสอบเพื่อศึกษาต่อในสาขาอื่นที่ไม่ใช่ ธุรกิจ, กฎหมาย, และ การแพทย์ http://www.ets.org/portal/site/ets/menuitem.435c0b5cc7bd0ae7015d9510c3921509/?vgnextoid=b195e3b5f64f4010VgnVCM10000022f95190RCRD • IELTS: ข้อสอบภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนต่อต่างประเทศ http://www.ielts.org/ • CU-TEP: ข้อสอบทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนต่อ Program Inter ทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางสถาบัน Kendall แนะนำให้นักเรียนของสถาบันไปลองสอบข้อสอบดังกล่าวเพื่อเป็นการ “ซ้อมมือ” ก่อนสอบข้อสอบ TOEFL จริงเพราะ CU-TEP ค่าสอบไม่สูงนัก http://www.atc.chula.ac.th/ • TU-GET: ข้อสอบทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนต่อ Program Inter ทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางสถาบัน Kendall แนะนำให้นักเรียนของสถาบันไปลองสอบข้อสอบดังกล่าวเพื่อเป็นการ “ซ้อมมือ” ก่อนสอบข้อสอบ TOEFL จริงเพราะ TU-GET ค่าสอบไม่สูงนัก• CU-BEST: ข้อสอบเพื่อเข้าหลักสูตรปริญญาโทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.mbachula.info/news_detail.asp?nid=53 • SAT: ข้อสอบเพื่อเข้าหลักสูตรปริญญาตรีของสหรัฐอเมริกาและ Program Inter ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและธรรมศาสตร์ http://www.collegeboard.com/splash • ACT: ข้อสอบเพื่อเข้าหลักสูตรปริญญาตรีของสหรัฐอเมริกาและ Program Inter ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและธรรมศาสตร์ http://www.act.org/ ทางผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลอย่างต้นจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่จะสอบทุกคนและขอให้ทุกคน “โชคดีในการสอบค่ะ”

No comments: