ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ " gmat "

ข้อสอบ gmat

ข้อสอบ gmat
ข้อสอบ gmat

รายละเอียดของข้อสอบ GMAT

รายละเอียดของข้อสอบ GMAT
วันที่ 17 มีนาคม 2549
เรียบเรียงโดย: ดร.สิระ สุทธิคำ, สถาบัน Kendall Square
www.ToeflThailand.com

Graduate Management Admission Test หรือข้อสอบ GMAT เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถของผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจซึ่งรวมทั้ง MBA, M.S. Marketing, M.S. Finance, MIS (สำหรับสาขา MIS ของบางมหาวิทยาลัยอาจต้องใช้คะแนน GRE แทน), DBA, และ Ph.D. ด้านบริหารธุรกิจส่วนใหญ่ต้องใช้คะแนน GMAT ในการพิจารณารับนักศึกษา

ภาพรวมของข้อสอบ
เป็นการวัดความรู้ในการสื่อสารซึ่งรวมทั้งการอ่านและการเขียน, ทักษะการวิเคราะห์, และ ทักษะในการคำนวณ ที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จในการเรียนต่อทางด้านบริหารธุรกิจ
จาก website ของผู้ออกข้อสอบ
www.mba.com ระบุไว้ชัดเจนว่าข้อสอบ GMAT ไม่สามารถใช้วัดความสามารถในเรื่องต่อไปนี้

• ความรู้เฉพาะทางของธุรกิจเช่น มาตรฐานของบัญชี หรือ กฎหมายธุรกิจ
• ทักษะเฉพาะด้านของงาน (specific job skill) หรือเนื้อหาจากบทเรียนระดับปริญญาตรีด้านบัญชีและบริหาร
• คุณสมบัติอื่นของการเป็นนักธุรกิจที่ดีเช่นความมุ่งมั่น, ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

รูปแบบของข้อสอบและเวลา
ข้อสอบ GMAT ประกอบด้วยข้อสอบ 3 ส่วนคือ 1. การเขียน (Analytical Writing Assessment) 2. คณิตศาสตร์ (Quantitative) และ 3. ภาษาอังกฤษ (Verbal)

ข้อสอบการเขียน (AWA)
ข้อสอบ GMATเริ่มจากการทำข้อสอบเขียนก่อนเสมอ โดยจะมีรูปแบบของข้อสอบ 2 ลักษณะได้แก่ 1.การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น (Issue) และ 2.การเขียนเพื่อแสดงวิจารณ์บทความ (Argument) ผู้เข้าสอบจะมีเวลา 30 นาทีต่อหนึ่ง essay

ข้อสอบคณิตศาสตร์ (Quantitative)
หลังจากการพักจากข้อสอบการเขียน 10 นาที ผู้เข้าสอบจะต้องทำโจทย์เลขแบบ multiple-choice จำนวน 37 ข้อโดยมีรูปแบบของข้อสอบสองลักษณะนั้นคือ 1. Problem Solving ~24 ข้อ และ 2. Data Sufficiency ~13 ข้อ โดยมีเวลาทำข้อสอบทั้งสิ้น 75 นาที คอมพิวเตอร์จะหยุดการทำงานทันทีเมื่อเวลาหมด

ข้อสอบภาษาอังกฤษ (Verbal)
หลังจากการพักจากข้อสอบคณิตศาสตร์แล้ว ผู้เข้าสอบสามารถพักหรือทำข้อสอบภาษาอังกฤษ (Verbal) ต่อเนื่องเลยได้ โดยข้อสอบส่วนนี้จะเป็นโจทย์แบบ multiple-choice จำนวน 41 ข้อโดยมีรูปแบบของข้อสอบสามลักษณะนั้นคือ 1. การอ่าน (Reading Comprehension) ~14 ข้อ 2. การวิเคราะห์ (Critical Reasoning) ~14 ข้อและ 3. ไวยกรณ์และการเขียน (Sentence Correction) ~13 ข้อ โดยมีเวลาทำข้อสอบทั้งสิ้น 75 นาที คอมพิวเตอร์จะหยุดการทำงานทันทีเมื่อเวลาหมด

http://toefl121.blogspot.com/

http://toeic1.blogspot.com/

ตัวอย่างข้อสอบGmat

Example:

The rise in negative attitudes toward foreigners indicate that the country is becoming less tolerant, and therefore that the opportunities are ripe for extremist groups to exploit the illegal immigration problem.

(A) indicate that the country is becoming less tolerant, and therefore that
(B) indicates that the country is becoming less tolerant, and therefore
(C) indicates that the country is becoming less tolerant, and therefore that
(D) indicates that the country is being less tolerant, and therefore
(E) indicates that the country is becoming less tolerant of and therefore that

Choice (A) has two flaws. First, the subject of the sentence the rise is singular, and therefore the verb indicate should not be plural. Second, the comma indicates that the sentence is made up of two independent clauses, but the relative pronoun that immediately following therefore forms a subordinate clause.

Choice (C) corrects the number of the verb, but retains the subordinating relative pronoun that.

Choice (D) corrects the number of the verb and eliminates the subordinating relative pronoun that. However, the verb being is less descriptive than the verb becoming: As negative attitudes toward foreigners increase, the country becomes correspondingly less tolerant. Being does not capture this notion of change.

Choice (E) corrects the verb's number, and by dropping the comma makes the subordination allowable. However, it introduces the preposition of which does not have an object: less tolerant of what?

Choice (B) both corrects the verb's number and removes the subordinating relative pronoun that. The answer is (B).

ศึกษาข้อมูลก่อนสอบ gmat

Friday, April 18, 2008

gmat คืออะไร

GMAT-Graduate Management Admission Test
Structure
GMAT เป็นข้อสอบแบบปรนัย (Multiple-Choice) ใช้สำหรับผู้ที่ต้องการสมัคร เพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาด้านธุรกิจและบริหาร การสอบ GMAT ดำเนินการโดย Educational Testing Service (ETS) ภายใต้การสนับสนุนของ Graduate Management Admission Council ( GMAC ) กล่าวได้ว่า GMAT มีจุดมุ่งหมายในการวัด ทักษะขั้นพื้นฐานทางด้าน Verbal, Mathematical และ Analytical ที่ได้รับการพัฒนาสะสมมาจากการศึกษาและการทำงานที่ผ่านมา
GMAT มีรูปแบบของการสอบเป็นแบบ Computer-Adaptive Test-CAT ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
1. Analytical Writing Assessment : เป็นการเขียน essay 2 บทความ คือ analysis of an issue และ analysis of an argument บทความละ 30 นาที ซึ่งต้องทำข้อสอบ ทางคอมพิวเตอร์เท่านั้น
2. Quantitative Section : 75 นาที 37 คำถาม ลักษณะของข้อสอบเป็นการวัดระดับ ความสามารถทางด้าน Algebra, Arithmetic และ Geometry โดยมีคำถามใน 2 รูปแบบคือ Data Sufficiency และ Problem Solving
3. Verbal Section : 75 นาที 41 คำถาม เป็นการทดสอบความสามารถทางด้าน Reading, Grammar และ Analytical Reasoning ในระดับที่นักศึกษาควรจะมี ในการเข้าศึกษา หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ทางด้านบริหารธุรกิจ โดยมีคำถามใน 3 รูปแบบคือ Reading Comprehension, Critical Reasoning และ Sentence Correction
How to Apply
ค่าสมัครสอบ GMAT ในปัจจุบันเท่ากับ US$ 225 โดยสามารถชำระได้ทั้งในรูปแบบของบัตรเครดิต ( Visa, MasterCard or American Express ) ใบสั่งจ่ายเงิน หรือคูปอง UNESCO การสมัครสอบ GMAT ปัจจุบัน หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับสมัครการสอบ GMAT สำหรับประเทศไทยคือ Regional Registration Center ( RRC ) Region 6 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Thomson Prometric
P . O . Box 12964 50794 Kuala Lumpur , Malaysia. E-mail: searrc@prometric.com Tel: 60-3-7628-3333 Fax: 60-3-7628-3366
สำหรับ สถานที่สอบ GMAT ในประเทศไทย คือที่
Institute of International Education-Southeast Asia (IIE)
6th Floor, Maneeya Center North 518/3 Ploenchit Road Pathumwan, Bangkok 10330
ศูนย์สอบในประเทศไทย เป็นศูนย์สอบแบบ Permanent ซึ่งเมื่อกำหนดสถานที่สอบได้แล้ว ผู้ที่ต้องการสอบสามารถตรวจสอบวันที่ และเวลาที่สามารถลงทะเบียนสอบได้ จาก http://www.gmat.org/mba/Service/GMATInfo/SelectTest.htm
สำหรับขั้นตอนการสมัครสอบ GMAT ในประเทศไทย สามารถกระทำได้ 4 วิธีคือ
1. แบบ online : ผู้สอบสามารถลงทะเบียนสอบ online ได้ ทาง website โดยต้องชำระค่า สมัครสอบด้วยบัตรเครดิตเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้สอบยังต้องสมัครเป็นสมาชิกของ www.mba . com ก่อน จึงจะสามารถสมัครสอบแบบ online ได้
2. โทรศัพท์: การสมัครสอบทางโทรศัพท์จากประเทศไทย ผู้สมัครต้องโทรติดต่อไปที่ Regional Registration Center ( RRC ) หมายเลขโทรศัพท์ 60-3-7628-3333 พร้อมเตรียมข้อมูลส่วนตัว และบัตรเครดิตที่ต้องการใช้ในการชำระค่าสมัครสอบ
3 & 4. โทรสารและไปรษณีย์: สำหรับการลงทะเบียนทางโทรสารและทางไปรษณีย์ ผู้สมัครต้อง กรอก International Test Scheduling Form (สามารถ download จาก website ได้) จากนั้น จึงจัดส่งทางโทรสารหรือไปรษณีย์ ไปยัง RRCพร้อมชำระค่าสมัครสอบตามที่อยู่ ด้านบน
ผู้สอบสามารถเลือกให้จัดส่งผลสอบไปให้กับสถาบันการศึกษาได้ 5 แห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพิ่มเติมและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรายชื่อ สถาบันภายหลังได้ ในกรณีที่ผู้สอบไม่ได้กำหนด สถาบันการศึกษาที่ต้องการให้จัดส่งผลสอบสามารถทราบผลสอบจากสถาบัน โดยต้องเสียค่า บริการ US$ 28
ผู้สอบสามารถสอบ GMAT ได้เพียง 1 ครั้ง ภายในระยะเวลา 1 เดือน (ตามปฏิทิน) และไม่สามารถ สอบได้เกินกว่า 5 ครั้ง ภายในระยะเวลา 12 เดือน (รวมถึงครั้งที่มีการยกเลิกผลคะแนนด้วย) หากสอบเกิน 5 ครั้ง ผลการสอบในครั้งที่เกินจะไม่มีการจัดส่งออกมาและอาจถูกห้าม ไม่ให้สอบ GMAT ในอนาคตได้อีก
สามารถทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ GMAT สามารถดูได้จาก www.gmat.org หรือ www.gmac.org หรือ โทรไปที่ 0-2652-0653 เพื่อสอบถามข้อมูลทั่วไป

8 comments:

exteem said...

GMAT คืออะไร
GMAT หรือ Graduate Management Admission Test เป็นข้อสอบ ที่ใช้วัดความสามารถของผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ใช้คะแนน GMAT ในการพิจารณารับนักศึกษา

exteem said...

GMAT-Graduate Management Admission Test
Structure
GMAT เป็นข้อสอบแบบปรนัย (Multiple-Choice) ใช้สำหรับผู้ที่ต้องการสมัคร เพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาด้านธุรกิจและบริหาร การสอบ GMAT ดำเนินการโดย Educational Testing Service (ETS) ภายใต้การสนับสนุนของ Graduate Management Admission Council ( GMAC ) กล่าวได้ว่า GMAT มีจุดมุ่งหมายในการวัด ทักษะขั้นพื้นฐานทางด้าน Verbal, Mathematical และ Analytical ที่ได้รับการพัฒนาสะสมมาจากการศึกษาและการทำงานที่ผ่านมา
GMAT มีรูปแบบของการสอบเป็นแบบ Computer-Adaptive Test-CAT ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
1. Analytical Writing Assessment : เป็นการเขียน essay 2 บทความ คือ analysis of an issue และ analysis of an argument บทความละ 30 นาที ซึ่งต้องทำข้อสอบ ทางคอมพิวเตอร์เท่านั้น
2. Quantitative Section : 75 นาที 37 คำถาม ลักษณะของข้อสอบเป็นการวัดระดับ ความสามารถทางด้าน Algebra, Arithmetic และ Geometry โดยมีคำถามใน 2 รูปแบบคือ Data Sufficiency และ Problem Solving
3. Verbal Section : 75 นาที 41 คำถาม เป็นการทดสอบความสามารถทางด้าน Reading, Grammar และ Analytical Reasoning ในระดับที่นักศึกษาควรจะมี ในการเข้าศึกษา หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ทางด้านบริหารธุรกิจ โดยมีคำถามใน 3 รูปแบบคือ Reading Comprehension, Critical Reasoning และ Sentence Correction
How to Apply
ค่าสมัครสอบ GMAT ในปัจจุบันเท่ากับ US$ 225 โดยสามารถชำระได้ทั้งในรูปแบบของบัตรเครดิต ( Visa, MasterCard or American Express ) ใบสั่งจ่ายเงิน หรือคูปอง UNESCO การสมัครสอบ GMAT ปัจจุบัน หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับสมัครการสอบ GMAT สำหรับประเทศไทยคือ Regional Registration Center ( RRC ) Region 6 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Thomson Prometric
P . O . Box 12964 50794 Kuala Lumpur , Malaysia. E-mail: searrc@prometric.com Tel: 60-3-7628-3333 Fax: 60-3-7628-3366
สำหรับ สถานที่สอบ GMAT ในประเทศไทย คือที่
Institute of International Education-Southeast Asia (IIE)
6th Floor, Maneeya Center North 518/3 Ploenchit Road Pathumwan, Bangkok 10330
ศูนย์สอบในประเทศไทย เป็นศูนย์สอบแบบ Permanent ซึ่งเมื่อกำหนดสถานที่สอบได้แล้ว ผู้ที่ต้องการสอบสามารถตรวจสอบวันที่ และเวลาที่สามารถลงทะเบียนสอบได้ จาก http://www.gmat.org/mba/Service/GMATInfo/SelectTest.htm
สำหรับขั้นตอนการสมัครสอบ GMAT ในประเทศไทย สามารถกระทำได้ 4 วิธีคือ
1. แบบ online : ผู้สอบสามารถลงทะเบียนสอบ online ได้ ทาง website โดยต้องชำระค่า สมัครสอบด้วยบัตรเครดิตเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้สอบยังต้องสมัครเป็นสมาชิกของ www.mba . com ก่อน จึงจะสามารถสมัครสอบแบบ online ได้
2. โทรศัพท์: การสมัครสอบทางโทรศัพท์จากประเทศไทย ผู้สมัครต้องโทรติดต่อไปที่ Regional Registration Center ( RRC ) หมายเลขโทรศัพท์ 60-3-7628-3333 พร้อมเตรียมข้อมูลส่วนตัว และบัตรเครดิตที่ต้องการใช้ในการชำระค่าสมัครสอบ
3 & 4. โทรสารและไปรษณีย์: สำหรับการลงทะเบียนทางโทรสารและทางไปรษณีย์ ผู้สมัครต้อง กรอก International Test Scheduling Form (สามารถ download จาก website ได้) จากนั้น จึงจัดส่งทางโทรสารหรือไปรษณีย์ ไปยัง RRCพร้อมชำระค่าสมัครสอบตามที่อยู่ ด้านบน
ผู้สอบสามารถเลือกให้จัดส่งผลสอบไปให้กับสถาบันการศึกษาได้ 5 แห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพิ่มเติมและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรายชื่อ สถาบันภายหลังได้ ในกรณีที่ผู้สอบไม่ได้กำหนด สถาบันการศึกษาที่ต้องการให้จัดส่งผลสอบสามารถทราบผลสอบจากสถาบัน โดยต้องเสียค่า บริการ US$ 28
ผู้สอบสามารถสอบ GMAT ได้เพียง 1 ครั้ง ภายในระยะเวลา 1 เดือน (ตามปฏิทิน) และไม่สามารถ สอบได้เกินกว่า 5 ครั้ง ภายในระยะเวลา 12 เดือน (รวมถึงครั้งที่มีการยกเลิกผลคะแนนด้วย) หากสอบเกิน 5 ครั้ง ผลการสอบในครั้งที่เกินจะไม่มีการจัดส่งออกมาและอาจถูกห้าม ไม่ให้สอบ GMAT ในอนาคตได้อีก
สามารถทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ GMAT สามารถดูได้จาก www.gmat.org หรือ www.gmac.org หรือ โทรไปที่ 0-2652-0653 เพื่อสอบถามข้อมูลทั่วไป

exteem said...

ลักษณะของข้อสอบ
เป็นการวัดความรู้ทางภาษาอังกฤษ และ คณิตศาสตร์ รวมทั้งความถนัดของการเขียน ในเชิงวิเคราะห์ ซึ่งเป็นความสามารถ ที่นักศึกษาควรจะมี ในระดับบัณฑิตศึกษา ด้านบริหารธุรกิจ ประกอบไปด้วย ข้อสอบแบบ ปรนัย สองส่วนด้วยกัน คือ Quantitative และ Verbal และมี ส่วน การเขียนความเรียง ที่เรียกว่า Analytical Writing Assessment (AWA).

exteem said...

Quantitative Section37 คำถาม75 นาที

คำถาม Problem Solving ~ 24 คำถาม

คำถาม Data Sufficiency ~ 13 คำถาม

Verbal Section41 คำถาม75 นาที

Reading Comprehension ~14 คำถาม

Sentence Correction ~13 คำถาม

Critical Reasoning ~14 คำถาม

Essay คำถาม (Analytical Writing Assessment):

จะเริ่มต้นด้วย AWA สองคำถาม ในแต่ละส่วนจะมีเวลาทำ สามสิบนาที ในการพิมพ์ความเรียงในคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมเวิร์ด อย่างง่าย ความเรียงแต่ละส่วนนั้น จะมีการเตรียมไว้ล่วงหน้าแล้วในขณะที่ อีกสองส่วนนั้นไม่ได้เรียงลำดับก่อนหลังเอาไว้

exteem said...

การคิดคะแนนของ GMAT



จะมีการติดลบ 1 ใน 4 สำหรับข้อที่เลือกผิดทุกข้อ และการรายงานผลจะรายงานคะแนน 3 ครั้งล่าสุด มหาวิทยาลัยบางแห่ง อาจจะพิจารณาเฉพาะ ผลคะแนนครั้งที่ดีที่สุด แต่บางแห่ง อาจจะพิจารณาคะแนนเฉลี่ยของ ทั้ง 3 ครั้ง ในคณะที่มหาวิทยาลัยบางแห่ง อาจจะพิจารณาจากพัฒนาการของนักศึกษาจากผลที่ได้แต่ละครั้ง คะแนน GMAT จะอยู่ระหว่าง 200- 800 คะแนน ส่วนใหญ่นักศึกษาจะทำได้ประมาณ 250-700 ในส่วนการเขียนเชิงวิเคราะห์ จะมีคะแนนในช่วง 0-6 ผู้ที่ไม่ทำข้อสอบทั้ง 2 ชุด คือ ทั้งการเขียนบทความ และการทำข้อสอบปรนัย จะไม่ได้รับผลคะแนน เนื่องจากถือว่าทำข้อสอบ ไม่สมบูรณ์ ปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอบ GMAT ในประเทศไทย ให้เป็นแบบการสอบกับคอมพิวเตอร์






คะแนน GMAT กับ Business Schools



คะแนน GMAT ที่ผู้สอบจะได้รับ จะมีแบ่งเป็นส่วนๆ ดังต่อไปนี้






* Quantitative ระดับคะแนน อยู่ในช่วง 0 ถึง 60


* Verbal ระดับคะแนนอยู่ในช่วง 0 ถึง 60


* Overall ระดับคะแนนอยู่ในช่วง 200 ถึง 800 ซึ่งเป็นคะแนนหลังจากนำ สองส่วนแรกมารวมกันแล้วนำมาเทียบให้อยู่ในช่วงคะแนน สองร้อยถึงแปดร้อย


* Analytical Writing Assessment ระดับคะแนน อยู่ในช่วง 0 ถึง 6 โดยจะเป็นคะแนนแยกจากสองส่วนแรก ส่วนนี้สำคัญน้อยกว่าสอง ส่วนแรก





การเรียน MBA ในมหาวิทยาลัยดังๆ ส่วนใหญ่ ก็หมายถึง การที่จบมาแล้วได้งานทำดีๆ เงินเดือนมาก ฉะนั้น การแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยดัง จึงค่อนข้างสูง ฉะนั้น ผล GMAT ที่จะใช้เพื่อให้ได้รับการตอบรับเข้าเรียน ก็สูงตามไป อย่างช่วยไม่ได้ ตารางข้างล่าง เป็นคะแนนโดยเฉลี่ย ของ ผู้ที่จะเข้าเรียน MBA ในมหาวิทยาลัย ต่างๆ ใน สหรัฐอเมริกา




border=0>

Stanford University



730
Cornell Univeristy



670
Georgetown University



655
University of Pittsburgh



620

exteem said...

อัตราค่าสอบ



อัตราค่าสอบปัจจุบันเท่ากับ US$ 195 และสามารถเลือกวันสอบได้ โดยทาง IIE จัดสอบทุกวัน วันละ 1 รอบ ตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์ ตลอดช่วงเวลา 3 สัปดาห์สุดท้ายของแต่ละเดือน ไม่มีการจัดสอบในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน การสอบแต่ละครั้งสามารถรับผู้สมัครได้ 19 คน นักศึกษาสามารถรับใบสมัครและสมัครสอบได้ IIE นักศึกษาสามารถทราบผลปรนัยทันทีหลังการสอบ ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.gmat.org


สำหรับประเทศไทย สามารถติดต่อ Institute of International Education (IIE) ชั้น 9 ตึกซิตี้แบงค์ 82 ถ.สาทรเหนือ บางรัก กทม. 10500 โทร. 639-2700-2 E-mail : iiethai@bkk.iie.org

exteem said...

*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา

exteem said...

รายละเอียดของข้อสอบ GMAT

รายละเอียดของข้อสอบ GMAT
วันที่ 17 มีนาคม 2549
เรียบเรียงโดย: ดร.สิระ สุทธิคำ, สถาบัน Kendall Square
www.ToeflThailand.com

Graduate Management Admission Test หรือข้อสอบ GMAT เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถของผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจซึ่งรวมทั้ง MBA, M.S. Marketing, M.S. Finance, MIS (สำหรับสาขา MIS ของบางมหาวิทยาลัยอาจต้องใช้คะแนน GRE แทน), DBA, และ Ph.D. ด้านบริหารธุรกิจส่วนใหญ่ต้องใช้คะแนน GMAT ในการพิจารณารับนักศึกษา

ภาพรวมของข้อสอบ
เป็นการวัดความรู้ในการสื่อสารซึ่งรวมทั้งการอ่านและการเขียน, ทักษะการวิเคราะห์, และ ทักษะในการคำนวณ ที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จในการเรียนต่อทางด้านบริหารธุรกิจ
จาก website ของผู้ออกข้อสอบ www.mba.com ระบุไว้ชัดเจนว่าข้อสอบ GMAT ไม่สามารถใช้วัดความสามารถในเรื่องต่อไปนี้

• ความรู้เฉพาะทางของธุรกิจเช่น มาตรฐานของบัญชี หรือ กฎหมายธุรกิจ
• ทักษะเฉพาะด้านของงาน (specific job skill) หรือเนื้อหาจากบทเรียนระดับปริญญาตรีด้านบัญชีและบริหาร
• คุณสมบัติอื่นของการเป็นนักธุรกิจที่ดีเช่นความมุ่งมั่น, ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

รูปแบบของข้อสอบและเวลา
ข้อสอบ GMAT ประกอบด้วยข้อสอบ 3 ส่วนคือ 1. การเขียน (Analytical Writing Assessment) 2. คณิตศาสตร์ (Quantitative) และ 3. ภาษาอังกฤษ (Verbal)

ข้อสอบการเขียน (AWA)
ข้อสอบ GMATเริ่มจากการทำข้อสอบเขียนก่อนเสมอ โดยจะมีรูปแบบของข้อสอบ 2 ลักษณะได้แก่ 1.การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น (Issue) และ 2.การเขียนเพื่อแสดงวิจารณ์บทความ (Argument) ผู้เข้าสอบจะมีเวลา 30 นาทีต่อหนึ่ง essay

ข้อสอบคณิตศาสตร์ (Quantitative)
หลังจากการพักจากข้อสอบการเขียน 10 นาที ผู้เข้าสอบจะต้องทำโจทย์เลขแบบ multiple-choice จำนวน 37 ข้อโดยมีรูปแบบของข้อสอบสองลักษณะนั้นคือ 1. Problem Solving ~24 ข้อ และ 2. Data Sufficiency ~13 ข้อ โดยมีเวลาทำข้อสอบทั้งสิ้น 75 นาที คอมพิวเตอร์จะหยุดการทำงานทันทีเมื่อเวลาหมด

ข้อสอบภาษาอังกฤษ (Verbal)
หลังจากการพักจากข้อสอบคณิตศาสตร์แล้ว ผู้เข้าสอบสามารถพักหรือทำข้อสอบภาษาอังกฤษ (Verbal) ต่อเนื่องเลยได้ โดยข้อสอบส่วนนี้จะเป็นโจทย์แบบ multiple-choice จำนวน 41 ข้อโดยมีรูปแบบของข้อสอบสามลักษณะนั้นคือ 1. การอ่าน (Reading Comprehension) ~14 ข้อ 2. การวิเคราะห์ (Critical Reasoning) ~14 ข้อและ 3. ไวยกรณ์และการเขียน (Sentence Correction) ~13 ข้อ โดยมีเวลาทำข้อสอบทั้งสิ้น 75 นาที คอมพิวเตอร์จะหยุดการทำงานทันทีเมื่อเวลาหมด

สมัครสอบ GMAT อ่าน http://www.mba.com/mba/TaketheGMAT